วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS 04 14/07/09

โครงร้างข้อมูลแบบเซต
ในโครงสร้างข้อมูลแต่ละตัวไม่มีความสัมพันธ์กัน การดำเนินการจะมีแบบ A^B ตัวที่ซ้ำกัน , AUB รวมกัน(กระจัดกระจาย) , A-B หรือ B-A ตัวที่อยู่ในA แต่ไม่อยู่ในB และโครงสร้างของสตริง จะเป็นข้อความคล้ายๆกับ notepad เป็นโปรแกรมประเภทประมวลผลคำ เช่น ภาษา HTML หรือ การเปลี่ยนแท็ปของ Hi5ฯลฯ

โครงสร้างข้อมูลแบบสตริง
อะเรย์ของสตริงที่ยาวไม่เท่ากัน ทำได้เฉพาะเมื่อมีการกำหนดค่าเริ่มต้นเท่านั้น เช่น ฟังก์ชั่น puts()ใช้ในการเพิ่มสตริงออกทางจอภาพ โดยการผ่านค่าแอดเดรสของสตริงไปให้เท่านั้น อะเรย์ของสตริงที่ยาวเท่ากัน จะถือว่าเป็นอะเรย์ที่แท้จริง และสามารถกำหนดได้ทั้งเมื่อมีการให้ค่าเริ่มต้น เมื่อกำหนดเป็นตัวแปร โดยดำเนินการตามแบบกำหนดเป็นอะเรย์ 2 มิติ

การกำหนดตัวแปรจะมีความแตกต่างจากการกำหนดตัวแปรแบบความยาวไม่เท่ากัน คือในแบบความยาวไม่เท่ากันตัวท้ายของสตริงจะต้องเติม null charactor(\0)เพียงตัวเดียวแต่ใบแบบความยาวเท่ากัน จะเติม null charactor(\0) ให้ครบทุกช่อง

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS 03 30/06/52

อาร์เรย์ เป็นแบบหนึ่งของโครงสร้างที่เรียกว่า Linear List ซึ่งมีจำนวนรายการ ( Element) จำกัด และข้อมูลที่เก็บอยู่ในอาร์เรย์แต่ละช่องจะต้องเป็นข้อมูลชนิดเดียวกัน อยู่ภายใต้ตัวแปรชื่อเดียวกัน โดยขนาดของแต่ละช่องต้องเท่ากันหมด การอ้างถึงข้อมูลในแต่ละช่องของของอาร์เรย์ ต้องอาศัยตัวห้อย Subscript เช่น กำหนดให้ Array A มีขนาด 100 รายการ A[5] จะหมายถึง ค่าของอาร์เรย์ตำแหน่งที่ 5 ในอาร์เรย์นั้น ซึ่ง Subscript ก็คือ เลข 5 จำนวน Subscript ที่ต้องการใช้เวลาเรียกใช้ค่าใน Array เรียกว่า มิติ ไดเมนชั่น ( Dimention) ของ Array นั้น

การสร้าง Array ขึ้นมาใช้งานนั้น ต้องคำนึงถึง
1. ชื่อของ Array
2. ขนาดของ Array แต่ละช่อง และมิติของ Array
3. ค่าสูงสุด ( Upper Bound) และค่าต่ำสุด (Lower Bound) ในแต่ละมิติ

ARRAY 1 มิติ คือ Array ที่มีลักษณะเป็นตารางแถวเดียว Array 1 มิติ จะมีลักษณะโดยทั่วไปดังนี้
A(L:U)
A: ชื่อของArray
L: ค่าต่ำสุด (Lower Bound )
U: ค่าสูงสุด (Upper Bound )

หมายเหตุ ในภาษาซี ช่องแรกของอาร์เรย์จะเริ่มจาก 0


ค่า subscript ที่ใช้อ้างอิงถึงสมาชิก จะต้องมีค่ามากกว่า หรือเท่ากับขอบเขตล่าง และน้อยกว่าหรือเท่ากับขอบเขตบน
lower bound ≤ subscript ≤ upper bound
ขนาดของ index แต่ละตัว ของ Array หาได้จาก
ขนาดของ subscript = upper bound – lower bound + 1

อาร์เรย์ 2 มิติ
อาร์เรย์ 2 มิติ คือ อาร์เรย์ที่มีลักษณะที่เป็นตารางที่มี 2 ด้าน คือ ทางด้านแนวนอน ( ROW) และแนวตั้ง ( COLUMN) มีจำนวนช่องเท่ากับ จำนวนช่องทางด้านแนวนอน ( ROW) คูณกับจำนวนช่องทางด้านแนวตั้ง ( COLUMN) การอ้างถึง Array 2 มิติ ต้องใช้ Subscript 2 ตัว คือ ROW และ COLUMN การกำหนดอาร์เรย์ 2 มิติทำได้โดย